ฐานข้อมูลนก
มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 Birds Maejo University
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
» หน้าแรก
» ค้นหาข้อมูลนก
» ความเชี่ยวชาญของบุคลากร
» รายงานข้อมูลนก
» ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้องกับนก
» เครือข่าย/ชมรมอนุรักษ์นก
» งานวิจัยด้านนก
» เว็บข้อมูลนกที่เกี่ยวข้อง
» vdo ที่เกี่ยวข้องกับนก
» ห้องสมุดนก
» facebook คณะสัตวศาสตร์ฯ
» คณะทำงานวิจัย
» สำหรับผู้ดูแลระบบ
 
 

                               :: รายละเอียดงานวิจัยเกี่ยวกับ นก::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่องานวิจัย/บทความ
นกปากห่างในประเทศไทย ควรได้รับการคุ้มครองต่อไปหรือไม่ ?
ชื่อผู้แต่ง นายมงคล ไชยภักดี * และวัลยา ไชยภักดี *
หน่วยงาน * กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สํานักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ชื่อวารสาร ผลงานวิจัย และรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ประจําปี 2553.
บทคัดย่อ

การที่นกปากห่างยังถูกจัดเป็นนกที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดนกนั้น เนื่องจากการระบาดของไข้หวัดนก (Avian Influenza) ในประเทศไทยระหว่างปีพ.ศ. 2547 – 2548 เคยมีการตรวจพบเชื้อ Influenza virus ชนิด H5N1 ในนกปากห่าง จากพื้นที่ 6 แห่ง ได้แก่ บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ (ก.พ.47, ต.ค.47, ก.พ.48, ธ.ค.48) อ.บางเลน จ.นครปฐม (ก.พ.47) ต.บ้านหว้า อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา (ก.พ.47) เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ (ก.พ.47) อ.สองพี่สอง จ.สุพรรณบุรี (เม.ย.47) และ ต.ไผ่จําศีล อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง (ก.ย.48) แม้ว่าผลการตรวจ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 - ปัจจุบัน ไม่พบเชื้อ H5N1 ในนกปากห่างอีกเลย แต่การที่นกปากห่างมีแหล่งทํารังวางไข่และแหล่งอาศัยหากิน อยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณเดียวกับพื้นที่ที่มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง ในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบการระบาดซ้ําซากของโรคไข้หวัดนก และส่วนใหญ่อยู่ใกล้แหล่งชุมชน ดังนั้นเมื่อมีการระบาดของโรคไข้หวัดนกจึงเป็นที่วิตกกังวลกันว่านกปากห่างอาจเป็นพาหะนําเชื้อได้นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่นกปากห่างมักทํารังในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เรือกสวนไร่นา ทําให้ต้นไม้พืชผลเสียหาย ทั้งกลิ่นมูลนกในแหล่งทํารังวางไข่ที่อยู่ใกล้แหล่งชุมชน สร้างความเดือดร้อนรําคาญแก่ประชาชน ทําให้ทัศนคติที่มีต่อการอนุรักษ์นกปากห่างในปัจจุบันเปลี่ยนไปในทางลบ

คำสำคัญ
ปี พ.ศ. 2553
ไฟล์งานวิจัย/บทความ Research_Birds/นกปากห่างในประเทศไทย ควรได้รับการคุ้มครองต่อไปหรือไม่.pdf
  
       
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 252 หมู่ 8 ต.หนองหาร
อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290 โทรศัพท์ 053-875432 โทรสาร 053-353830