ชื่องานวิจัย/บทความ |
การใช้นกเป็นตัวชี้วัดทางนิเวศวิทยา
|
|
|
ชื่อผู้แต่ง |
สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์
|
หน่วยงาน |
กลุ่มงานนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
|
ชื่อวารสาร |
ดาวน์โหลดหนังสือฉบับอี-บุ๊ค และภาพนกในประเทศไทย ได้ที่ www.dnp.go.th/environment
|
บทคัดย่อ |
สัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถเคลื่อนที่ได้ แต่สร้างสารอาหารเองไม่ได้อย่างพวกพืช จำเป็นต้องพึ่งพาการกินสิ่งมีชีวิตด้วยกันเป็นอาหารและอาศัยสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตเป็นสำคัญ ความหมาย“สัตว์ป่า” ในทางนิเวศวิทยา จึงหมายถึงสัตว์ที่มีการดำรงชีวิตเป็นอิสระในถิ่นอาศัยที่มีปัจจัยแวดล้อมจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ น้ำ อาหาร ที่หลบซ่อนอาศัย และที่ว่างจำเป็น เหมาะสมกับสภาพการดำรงชีวิตและการสืบพันธุ์ของสัตว์ป่านั้น ๆ สัตว์ป่า จึงมีความสามารถปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมถิ่นอาศัยได้รวดเร็ว ดังนั้น สถานภาพของสัตว์ป่า จึงขึ้นอยู่กับคุณภาพปัจจัยแวดล้อมของถิ่นอาศัย และเป็นดัชนีบ่งชี้สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศของสัตว์ป่า โดยเฉพาะชนิดพันธุ์เด่นในสังคมของถิ่นอาศัย ซึ่งจัดเป็นชนิดพันธุ์ที่ประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้น ๆ ดีที่สุด
|
คำสำคัญ |
|
ปี พ.ศ. |
2544
|
ไฟล์งานวิจัย/บทความ |
Research_Birds/การใช้นกเป็นตัวชี้วัดทางนิเวศวิทยา.pdf
|
| |