ชื่อไทย |
นกกะรางหัวขวาน
|
|
|
ชื่ออังกฤษ |
Common Hoopoe
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Upupa epops
|
ขนาด(Cm) |
27-32.5
|
อันดับ |
Upupiformes
|
วงศ์ |
Upupidae
|
ลักษณะทั่วไป |
จะงอยปากยาวโค้งสีดำ ขนปกคลุมลำตัวสีเหลืองแกมน้ำตาล บนหัวมีขนหงอนยาวสีน้ำตาลแดงปลายขนสีดำ สามารถกางออกในแนวตั้งคล้ายหมวกอินเดียนแดง ปีก หลัง และหางมีสีดำสลับลายขีดสีขาว ท้องด้านล่างและขนคลุมใต้หางสีขาว ทั้งสองเพศมีสีสันเหมือนกัน
|
อุปนิสัย |
มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ มักเดินหากินตามพื้นดิน แต่ก็สามารถเกาะตามกิ่งไม้และต้นไม้ได้ เสียงร้อง : “ฮูป-ฮูป-ฮูป” หรือ “ฮูป-ปู-ปู” ทุ้มต่ำ
|
ถิ่นอาศัย |
ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ สวนผลไม้ ทุ่งหญ้า และพื้นที่เกษตรกรรม พบได้ตั้งแต่ที่ราบจนถึงระดับความสูง 1,500 เมตร เป็นนกประจำถิ่น ประชากรบางส่วนในภาคกลางเป็นนกอพยพ พบบ่อยมาก
|
อาหาร |
ตัวหนอน ไส้เดือน และแมลงต่าง ๆ บนพื้นดิน
|
รัง |
ทำรังตามโพรงไม้ที่เกิดเองตามธรรมชาติ หรือโพรงที่สัตว์อื่นทำไว้ หรือตามซอกอาคารที่ไม่สูงจากพื้นดินมากนัก วางไข่ครอกละ 4-5 ฟอง นกทั้งสองเพศจะช่วยกันหาสถานที่ทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน
|
ฤดูผสมพันธุ์ |
มกราคม-เมษายน
|
แหล่งอ้างอิง |
จารุจินต์ นภีตะภัฏ, กานต์ เลขะกุล และ วัชระ สงวนสมบัติ. 2550. คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย. กรุงเทพฯ: คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล. 464 น.
|
|
โอภาส ขอบเขตต์. 2541. นกในเมืองไทย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี. 247 หน้า.
|
|
Lekagul, B. and P.D. Round. 1991. A Guide to the Birds of Thailand. Bangkok: Saha Karn Bhaet Co., Ltd. 457 p.
|
|
|
|
|
| |