ฐานข้อมูลนก
มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 Birds Maejo University
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
» หน้าแรก
» ค้นหาข้อมูลนก
» ความเชี่ยวชาญของบุคลากร
» รายงานข้อมูลนก
» ข่าว/บทความที่เกี่ยวข้องกับนก
» เครือข่าย/ชมรมอนุรักษ์นก
» งานวิจัยด้านนก
» เว็บข้อมูลนกที่เกี่ยวข้อง
» vdo ที่เกี่ยวข้องกับนก
» ห้องสมุดนก
» facebook คณะสัตวศาสตร์ฯ
» คณะทำงานวิจัย
» สำหรับผู้ดูแลระบบ
 
 

                               :: รายละเอียดข้อมูลนก ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อไทย
นกตะขาบทุ่ง
ชื่ออังกฤษ Indian Roller
ชื่อวิทยาศาสตร์ Coracias benghalensis
ขนาด(Cm) 33
อันดับ Coraciiformes
วงศ์ Coraciidae
ลักษณะทั่วไป จะงอยปากสีดำ ขณะเกาะพักจะเห็นขนปกคลุมลำตัวสีค่อนข้างคล้ำ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเขียวคล้ำ ลำตัวด้านล่างสีม่วงแกมน้ำตาล คอและอกตอนบนมีลายขีดเล็ก ๆ สีเขียวอมฟ้ากระจายห่าง ๆ ขณะบินจะเห็นปีกและหางมีสีฟ้าสดสลับกับสีน้ำเงินเข้ม ทั้งสองเพศมีสีสันเหมือนกัน
อุปนิสัย มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ มักพบเกาะตามกิ่งไม้แห้งหรือยอดไม้ที่โดดเด่น หรือบนสายไฟฟ้าเพื่อมองหาเหยื่อตามพื้นดิน เมื่อพบเหยื่อก็จะบินลงมาโฉบจับด้วยจะงอยปากแล้วคาบขึ้นไปกินในบริเวณที่เกาะ
ถิ่นอาศัย ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ ทุ่งนา และพื้นที่เกษตรกรรม พบได้ตั้งแต่ที่ราบจนถึงระดับความสูง 1,500 เมตร เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยมาก
อาหาร แมลง ปู กบ หนู และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก
รัง ทำรังตามโพรงไม้ที่เกิดเองตามธรรมชาติ บนตอไม้ หรือตามซอกอาคาร มีการนำวัสดุ เช่น ใบไม้ ใบหญ้า มารองพื้นรัง วางไข่ครอกละ 3-5 ฟอง นกทั้งสองเพศช่วยกันหาสถานที่ทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน
ฤดูผสมพันธุ์ มีนาคม-มิถุนายน
แหล่งอ้างอิง จารุจินต์ นภีตะภัฏ, กานต์ เลขะกุล และ วัชระ สงวนสมบัติ. 2550. คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย. กรุงเทพฯ: คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล. 464 น.
  โอภาส ขอบเขตต์. 2542. นกในเมืองไทย เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี. 227 หน้า.
  Lekagul, B. and P.D. Round. 1991. A Guide to the Birds of Thailand. Bangkok: Saha Karn Bhaet Co., Ltd. 457 p
 
 
  
:: ภาพแสดง นกตะขาบทุ่ง ::


ถ่ายภาพโดย : ประภากร ธาราฉาย

ถ่ายภาพโดย : ประภากร ธาราฉาย




กลับสู่เมนูค้นหา 
       
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 252 หมู่ 8 ต.หนองหาร
อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290 โทรศัพท์ 053-875432 โทรสาร 053-353830