ชื่อไทย |
นกตีทอง
|
|
|
ชื่ออังกฤษ |
Coppersmith Barbet
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Megalaima haemacephala
|
ขนาด(Cm) |
16-17
|
อันดับ |
Piciformes
|
วงศ์ |
Megalaimidae
|
ลักษณะทั่วไป |
จะงอยปากสีดำ ลำตัวด้านบนสีเขียว หน้าผากสีแดง กระหม่อมตอนหน้าสีดำ ใบหน้าสีดำ มีคิ้วและแถบใต้ตาสีเหลือง คางและคอตอนบนสีเหลือง คอตอนล่างมีแถบสีแดงคาด อกตอนบนสีเหลือง อกตอนล่างสีเขียวอมเหลืองมีลายขีดสีเขียว แข้งและเท้าสีแดง นิ้วเท้ายื่นไปข้างหน้า 2 นิ้วและยื่นไปข้างหลัง 2 นิ้ว ทั้งสองเพศมีสีสันเหมือนกัน นกตัวไม่เต็มวัย ลำตัวด้านบนและหัวมีสีเขียว บริเวณที่เป็นสีเหลืองจะซีดกว่า อกตอนบนสีเทา ลายขีดที่อกตอนล่างและท้องเป็นสีเทาแกมเขียว
|
อุปนิสัย |
มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ แต่อาจจะพบเป็นฝูงใหญ่ตามต้นไม้ที่มีผลสุก มักจะเกาะตามยอดไม้หรือกิ่งไม้แห้งแล้วส่งเสียงร้องทุ้มกังวาน“ต๊ง-ต๊ง” ติดต่อกันคล้ายเสียงคนกำลังตีเหล็ก มักจะร้องตลอดทั้งวัน แต่จะร้องบ่อยในช่วงเช้าและช่วงเย็น โดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์
|
ถิ่นอาศัย |
ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าโปร่ง ชายป่า สวนผลไม้ สวนสาธารณะ พบได้ตั้งแต่ที่ราบจนถึงระดับความสูง 915 เมตร
|
อาหาร |
ผลไม้สุกต่าง ๆ
|
รัง |
ทำรังเป็นโพรงตามลำต้นของต้นไม้ที่ยืนต้นตายและค่อนข้างผุ บางครั้งพบทำรังบนต้นไม้เนื้ออ่อนที่ยังมีชีวิตอยู่ ทำรังโดยการเจาะโพรงด้วยตนเอง วางไข่ครอกละ 2-4 ฟอง นกทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน
|
ฤดูผสมพันธุ์ |
กุมภาพันธ์-พฤษภาคม
|
แหล่งอ้างอิง |
จารุจินต์ นภีตะภัฏ, กานต์ เลขะกุล และ วัชระ สงวนสมบัติ. 2550. คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย. กรุงเทพฯ: คณะบุคคล นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล. 464 น.
|
|
โอภาส ขอบเขตต์. 2541. นกในเมืองไทย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี. 247 หน้า.
|
|
Lekagul, B. and P.D. Round. 1991. A Guide to the Birds of Thailand. Bangkok: Saha Karn Bhaet Co., Ltd. 457 p.
|
|
|
|
|
| |